วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบต่อไร้ท่อ(Endocrine System)

ระบบต่อมไร้ท่อ
สิ่งมีชีวิตจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ จำเป็นต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม ของระบบต่างๆ การ ควบคุมดังกล่าวจัดแบ่งได้ 2 ระบบ คือ ระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) การทำงานประสานงานอย่างใกล้ชิดของระบบทั้งสอง เรียกว่า ระบบประสานงาน (coordination)
            การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ การรับรู้ การตอบสนองสิ่งเร้าต่างๆ เป็นหน้าที่ของระบบประสาท ส่วนการควบคุมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไปของวัยหนุ่มสาว การควบคุมปริมาณสารบางอย่างในร่างกาย เป็นหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ ที่สร้างสารเคมี ที่เรียกว่า ฮอร์โมน ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย (target organ)

ต่อมในร่างกายคน
            ต่อม (gland) หมายถึง กลุ่มเซลล์หรือกลุ่มของเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อผลิตสารเคมีให้กับ ร่างกาย สารที่ผลิตออกมาอาจขับออกมาเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต เรียกการขับสารดังกล่าวว่า secretion และสารบางอย่างถูกขับออกมาเพื่อเป็นของเสียที่ต้องกำจัดทิ้ง เรียกการขับสารดังกล่าวนี้ว่า excretion

ประเภทต่อมในร่างกายคน
          1) ต่อมมีท่อ ( exocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วมีท่อลำเลียงออกมาภายนอกได้ เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย
          2) ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วไม่มีท่อลำเลียงออกมาภายนอก ต้องอาศัยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ในสัตว์ที่ไม่มีเลือดก็จะแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อ สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเฉพาะอย่าง เรียกอวัยวะที่ฮอร์โมนไปมีผลเรียกว่า "
อวัยวะเป้าหมาย"

การสังเกตว่าต่อมใดเป็นไร้ท่อจะสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้
1.ไม่มีท่อลำเลียงสารที่ผลิตได้ออกภายนอกต่อม
2.มีเส้นเลือดจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารที่ต่อมผลิตได้ไปยังอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
3.cell ที่เป็นองค์ประกอบของต่อรูปร่างพิเศษ สังเกตได้ว่าแตกต่างจาก cell อื่นๆ
4.สารที่ผลิตได้จะมีลักษณะเฉพาะไม่สามารถถูกสร้างได้จากต่อมอื่น
5.สารที่ผลิตได้มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเองในลักษณะจำเพาะ

การจำแนกต่อมไร้ท่อตามความสำคัญต่อชีวิต
          1 ) Essential endocrine gland เป็นต่อมไร้ท่อที่จำเป็นมาก ถ้าหากขาดต่อมต่อไปนี้แล้วแล้วทำให้เสียชีวิตทันที
1.1) ต่อมพาราไทรอยด์ ( parathyroid )
1.2) ต่อมหมวกไตชั้นนอก ( adrenal cortex )
1.3) ต่อมไอส์เลตของตับอ่อน ( islets of Langerhans )
2 ) Non - Essential endocrine gland เป็นต่อมที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นน้อยมากต่อร่างกาย ถ้าหากขาดต่อมต่อไปนี้แล้วไม่ทำให้ถึงตาย
2.1) ต่อมใต้สมอง ( pituitary )
2.2) ต่อมไทรรอยด์ ( thyroid )
2.3) ต่อมหมวกไตชั้นใน ( adrenal medulla )
2.4) ต่อมไพเนียล ( pineal )
2.5) ต่อมไทมัส ( thymus )
2.6) ต่อมเพศ ( gonads )

ประเภทของสารในฮอร์โมน
            ในฮอร์โมนมีสารอยู่หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภทดังต่อไปนี้
1)  สารประเภทโปรตีนและพอลิเพปไทด์
2)  สารประเภทสเตรอยด์ 
3)  สารประเภทอนุพันธ์ของกรดอะมิโน
4)  สารประเภทอนุพันธ์ของกรดไขมัน

จุดกำเนิดของต่อมไร้ท่อ
            ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงฮอร์โมน และปล่อยสู่กระแสเลือด เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากต่อมไร้ท่อ จึงมีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวนำฮอร์โมนจากต่อม ต่อมไร้ท่อมีการเปลี่ยนแปลงมาจาก เนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้น คือ เอกโทเดิร์ม ( ectoderm ) มีโซเดิร์ม( mesoderm ) และ เอนโดเดิร์ม    
( endoderm )

ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ และ อวัยวะที่สำคัญ 
          ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่สำคัญระบบหนึ่งของร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายใน ร่างกายให้ทำงานประสานกัน โดยอาศัยสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนจะถูกขนส่งไปสู่อวัยวะทั่วร่างกาย แต่จะออกฤทธิ์หรือมีผลต่ออวัยวะและเซลล์บางตัวเท่านั้น ซึ่งต่อมไร้ท่อในมนุษย์มีทั้งหมด 9 ต่อม ดังนี้

1. ต่อมใต้สมอง ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
   1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
   2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
   3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
   4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
   5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น

2. ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
   1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
   2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
   3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย

3. ต่อมพาราไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาทของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา 

4. ตับอ่อน ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
   1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่านเข้าเซลล์ และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
   2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น

5.ต่อมหมวกไต เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า แบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
   1. Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง
   2. Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำและโวเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตาย เพราะความ ดันเลือด ต่ำ
   3. Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
   4. อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
      4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
      4.2) Noradrenalin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
6. ต่อมเพศ ในเพศชายคือ อัณฑะ ในเพศหญิงคือรังไข่ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมน ดังนี้
   1) ฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสทอสเตอโรน ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของเพศชาย
   2) ฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ และลักษณะต่างๆ ของความเป็นเพศหญิง แล้วฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะทำหน้าที่ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์

7. ฮอร์โมนจากรก หลังจากตั้งไข่ประมาณ 10 วัน เซลล์ของรกจะเริ่มหลั่งฮอร์โมน ชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะพบในเลือดและในปัสสาวะของผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงใช้เป็นตัว ทดสอบการตั้งครรภ์ของผู้หญิงได้

8. ต่อมเหนือสมอง

   1. ฮอร์โมนประสาท ( RH, IH ) กระตุ้นและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า , ส่วนกลาง
   2. Oxytocin กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้หดตัวเพื่อช่วยลดในการคลอด และ ให้ตัวอสุจิเคลื่อนภายในมดลูก, กระตุ้นการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมเพื่อหลั่งน้ำนม
   3. ADH (Antidiuretic Hormone) หรือ Vasopressin กระตุ้นให้เส้นเลือดแดงเล็กๆ หดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น, กระตุ้นให้ท่อของหน่วยไตส่วนท้าย และส่วนรวมมีการดูดน้ำกลับคืน ถ้าร่างกายขาด ADH จะปัสสาวะมาก ทำให้เกิดโรคเบาจืด (Diabetes inspidus: DS)
9. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
   1. Glucagon สร้างจากแอลฟาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดใหญ่อยู่ภายนอก ทำหน้าที่เปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็น glucose ในเลือด
   2. Insulin สร้างจากเบตาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดเล็กอยู่ภายใน ทำหน้าที่เปลี่ยน glucose ในเลือดให้เป็น glycogen ในตับ ถ้า ขาด insulin ทำให้เกิดโรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

10. ต่อมไทมัส สร้างฮอร์โมน ไทโมซิน ไปอวัยวะเป้าหมาย คือ เนื้อเยื่อของต่อไทมัส ไปกระตุ้นการสร้าง       T-lymphocyte ของต่อมไทมัส เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาและจะเสื่อมสภาพ และฝ่อไปเรื่อยๆตามอายุตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น (สร้างเม็ดเลือดขาว แอนติบอดี)




10 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. อยากทราบชื่อคนสร้างบล็อคค่า รบกวนช่วยบอกชื่อหน่อยนะคะจะเอาไปทำอ้างอิงเว็บไซต์ ค่ะ จะใส่เครดิตให้เจ้าของ บล็อค ค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ27 พฤษภาคม 2559 เวลา 19:46

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  4. เราจะหาข้อมูลตัวย่อเช่น RH.IH ได้ที่ไหนครับ

    ตอบลบ